“วันมาฆบูชา 2567” ธนาคาร-ไปรษณีย์หยุดไหม หยุดชดเชยหรือไม่

ปฏิทินวันพระ 2567 เช็กวันสำคัญทางศาสนา-วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่เท่าไร

ในวันมาฆบูชา ซึ่งจะตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ถือเป็นวันระลึกถึงการแสดงโอวาทปาติโมกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนของพระองค์ให้ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นธรรมนูญกันสืบมา

“โอวาทปาติโมกข์” เป็นหลักธรรมคำสอนอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนา ที่จะทำให้ทุกคนมีความสุข สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง และสามารถบรรลุนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตได้

แต่หลักธรรมนี้ทำไมถึงเป็นหัวใจของพุทธศาสนา และประชาชนอย่างเราจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง ทีมข่าวพีพีทีวีได้รวบรวมข้อมูลมาฝากทุกคนกัน

“โอวาทปาติโมกข์” หัวใจของพุทธศาสนาคำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง

โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ประทานให้แก่พระสาวกในคืนวันมาฆบูชาเพื่อไว้ประกาศศาสนา และเผยแพร่ไปยังพุทธศาสนิกชนสืบไป ถือเป็นหลักการใหญ่อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา หรือเป็น “ตัวศาสนา” ก็ได้

สร้างสุขในทุกๆ วันได้ด้วย "โอวาทปาติโมกข์"

โอวาทปาติโมกข์ มีหลักการคำสอนที่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

1.)การไม่ทำบาปทั้งปวงคือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการ ได้แก่

  1. การฆ่าสัตว์
  2. การลักทรัพย์
  3. การประพฤติผิดในกาม
  4. การพูดโกหก
  5. การพูดส่อเสียด
  6. การพูดคำหยาบ
  7. การพูดเพ้อเจ้อ
  8. การอยากได้สมบัติของผู้อื่น
  9. การผูกพยาบาท
  10. ความเห็นผิดทำนองคลองธรรม

2.) การทำกุศลให้ถึงพร้อมคือ การทำความดีทุกอย่างทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ตามกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งการทำดี 10 ประการ ได้แก่

  1. ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  2. ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
  4. ไม่พูดเท็จ
  5. ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน ไม่นินทา
  6. ไม่พูดหยาบคาย
  7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
  8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
  9. มีความเมตตาปรารถนาดี ไม่จองล้างจองผลาญใคร
  10. มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

3. การทำจิตใจให้ผ่องใสคือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยอาจนั่งสมาธิ สวดมนต์ หรือเจริญสติ ให้หลุดจากสิ่งที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่

  1. ความพอใจในกาม
  2. ความพยาบาท
  3. ความหดหู่ท้อแท้
  4. ความฟุ้งซ่าน
  5. ความลังเลสงสัย

ทั้ง 3 หลักการข้างต้น สามารถสรุปใจความสำคัญได้ว่า เราควร "ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์" ให้ได้ในทุกๆ วัน

ยกตัวอย่างเช่น “การไม่ว่าร้ายกัน” หากเจอคนทำอะไรไม่ดีใส่ ก็ไม่พยาบาทจะเอาคืนเขา ไม่นินทาลับหลัง และพยายามทำจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยอาจนั่งสมาธิ สวดมนต์ หรือเจริญสตินึกถึงแต่เหตุการณ์ในปัจจุบัน เพียงเท่านี้เราก็จะไม่สร้างเวรกรรมต่อกันอีก เรื่องจบลงได้โดยไว และเราก็มีความสุขขึ้น เพราะไม่ยึดติดกับเรื่องร้ายๆ ที่ผ่านมา

จะเห็นได้ว่า โอวาทปาติโมขก์ เป็นหลักการที่สอนให้เรารู้จักรักตัวเองและเพื่อนร่วมโลกอย่างไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ที่จะนำพามาซึ่งความสุขทั้งต่อตัวเองและสังคม รวมถึงสามารถนำไปสู่การหลุดพ้นอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

“มาฆบูชา” แนะวิธีทำบุญของพุทธศาสนิกชน ในวันพระใหญ่ได้บุญมากกว่าจริงไหม

ไขข้อสงสัยชาวพุทธ!? “ทำไมต้องเวียนเทียน” วันมาฆบูชา 2567

ปฏิทินวันหยุด "มีนาคม 2567" เช็กวันหยุด-วันสำคัญ-วันจ่ายเงินต่างๆ